สงครามเย็นในอารยธรรมปัจจุบัน

      สงครามเย็น เป็นหนึ่งในสงครามที่สำคัญที่ถูกบันทึกไว้หน้าประวัติศาสตร์โลก แม้ว่าสงครามเย็นจะเกิดจากความขัดแย้งอุดมการณ์ทางการเมือง แต่ก็ได้ลุกลามและแผ่ขยายสร้างความตึงเครียดไปทั่วโลก เป็นการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่มที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองและระบอบทางการเมืองต่างกัน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 

     โดยประเทศทั้งสองฝ่ายจะไม่ทำสงครามกันโดยตรงแต่จะสร้างแสนยานุภาพทางทหารไว้ข่มขู่ฝ่ายตรงข้าม และสนับสนุนให้ประเทศพันธมิตรของตนเข้าทำสงครามแทน เหตุผลที่เรียกว่าสงครามเย็นเนื่องจาก เป็นการต่อสู้กันระหว่างมหาอำนาจ โดยใช้จิตวิทยาไม่ได้นำพาไปสู่การต่อสู้ด้วยกำลังทหารโดยตรง 


     สาเหตุของสงครามเย็น มาจากความขัดแย้งอุดมการณ์ทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจทั้งสองที่ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายต่างประเทศและความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์และเขตอิทธิพลเพื่อครองความเป็นผู้นำโลกโดยแสวงหาผลประโยชน์จากประเทศต่างๆ 


     ลักษณะของสงครามเย็น 
1. การแข่งขันเพื่อสร้างพันธมิตรทางมิตรทางทหาร
2. การแข่งขันด้านอุดมการณ์
3. การแข่งขันด้านเทคโนโลยี
4. การทำสงครามตัวแทน

     คู่กรณีในสงครามเย็น ต่างฝ่ายต่างพยายามเปลี่ยนระบอบการปกครองของโลกให้เป็นแบบที่ตนเองสนับสนุน มีการใช้อาวุธปืนในการสังหารบ้าง แต่ไม่มีความรุนแรงกว้างขาวงและไม่เท่ากับสงครามโลก ฝ่ายหนึ่งคือ สหภาพโซเวียตเรียกว่า “ค่ายตะวันออก” ซึ่งปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ อีกฝ่ายหนึ่งคือสหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตรเรียกว่า “ค่ายตะวันตก” ซึ่งปกครองด้วยระบอบเสรีประชาธิปไตย ทั้งสองฝ่ายได้แข่งขันกันในด้านการสะสมอาวุธ เทคโนโลยีอวกาศ การจารกรรม เศรษฐกิจ และทำสงครามผ่านสงครามตัวแทน



อ้างอิง 
ภานุวัฒน์ ทองจันทร์.  สงครามเย็น.  (ออนไลน์).  สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2564. จาก https://sites.google.com/site/phanuwatt5612/3-khwam-khad-yaeng-ni-khrist-stwrrs-thi-20-cnthung-paccuban/3-2-sngkhram-yen

Sanok.  (2556).  สงครามเย็น.   (ออนไลน์).  สืบค้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2564.  จาก https://guru.sanook.com/7269/

วิกิพีเดีย.  สงครามเย็น.  (ออนไลน์).  สืบค้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2564.  จาก https://th.wikipedia.org/wiki/สงครามเย็น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สงครามครูเสด (Crusades) ในสมัยอารยธรรมสมัยกลาง

The world civilization