สภาพสังคมในอารยธรรมอียิปต์

           อียิปต์เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์เริ่มขึ้นเมื่อ 3150 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของฟาโรห์

          ในสังคมเกือบทุกสังคมมีการแบ่งชนชั้นทางสังคมทั้งสิ้น ซึ่งการแบ่งชนชั้นมีมานานมากกว่า 5000 ปี ในสมัยอารยธรรมอียิปต์ก็มีการแบ่งชนชั้นผู้คนในสังคมเป็นชนชั้นต่างๆอย่างชัดเจนแต่ละชนชั้นก็มีบทบาทและหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป 

          ในสมัยอียิปต์นั้น เริ่มปรากฎชัดเจนเมื่ออียิปต์รวมกันเป็นราชอาณาจักร สังคมอียิปต์ได้แบ่งชนชั้นเป็นชั้นต่างๆเปรียบกับรูปสามเหลี่ยม สามารถจัดแบ่งได้ 4 ชนชั้น คือชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง ชนชั้นต่ำ ชนชั้นต่ำสุด


ที่มา : https://chawalit069.wordpress.com/2015/03/09/สังคมของอารยธรรมอียิปต-2/

          กษัตริย์ (Pharaoh) และราชวงศ์กำหนดให้อยู่ในตำแหน่งสูงสุด กษัตริย์สามารถมีพระมเหสีหรือสนมได้หลายคน อาจเป็นพี่สาวน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกัน เนื่องจากต้องรักษาสายเลือดาที่บริสุทธิ์ไว้ มีหน้าที่เป็นผู้นำทางการปกครองและศาสนา กฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการปกครองเกิดจากกษัตริย์เป็นผู้กำหนด เปรียบเสมือนเป็นเจ้าของชีวิตของชาวอียิปต์โบราณ



         1. ชนชั้นสูง ประกอบด้วย 2 จำพวก ได้แก่ Priests และ Nobles

- คณะสงฆ์ (Priests) ได้แก่ นักบวช พระ เป็นผู้ช่วยของฟาโรห์ใสด้านศาสนา ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ฟาโรห์ทรงแบ่งที่ดินไว้ให้เพาะปลูกเพื่อนำไปบำรุงชีพและทำนุบำรุงวัด 

- ขุนนาง (Nobles) เป็นที่ฟาโรห์ไว้ใจ มีหน้าที่เก็บภาษี แต่ในสมัยอียิปต์โบราณไม่ได้เก็บเป็นเงินแต่เก็บภาษีเป็นสิ่งของ เช่น ข้าวปลาอาหาร ปศุสัตว์ ส่งเข้าฉางหลวง 

          2. ชนชั้นกลาง  ได้แก่ อาลักษ์ช่าง พ่อค้าต่างๆ พ่อค้าและช่างมีความเป็นอยู่ที่สบายกว่าชาวนา ฝีมือช่างต้องประณีตมากและต้องแสดงความสามารถเทคนิคต่างๆที่ยากได้ จึงเป็นชนชั้นที่มีบทบาทสำคัญในสังคม ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี เช่น ช่างสลัก ช่างปูน ช่างอาบน้ำยาศพ เป็นต้น 

          3. ชนชั้นต่ำ ได้แก่ ชาวนา ซึ่งจัดเป็นชนชั้นส่วนใหญ่ ชาวนาเป็นกำลังหลักในกองทัพและเป็นแรงงานที่สำคัญในการสาธารณะประโยชน์ พวกนี้ทำงานอย่สงหนักและมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก

          4. ชนชั้นต่ำสุด ได้แก่ ทาส ชนชั้นต่ำสุด ถูกกวาดต้อนมาจากการพ่ายแพ้สงคราม พวกนี้ไม่มีสิทธ์ใดๆ แม้จะทำงานอย่างหนักก็ไม่สามารถมีเสรีภาพได้

          การแบ่งชนชั้นมีอยู่เสมอ หลายแห่งการแบ่งชั้นวรรณะอาศัยชาติกำเนิด เช่นการแบ่งชนชั้นวรรณะของประเทศอินเดีย แต่สำหรับพลเมืองอียิปต์นั้นถึงจะมีหลายประเภทแต่ก็ไม่แบ่งแยกแบบถาวรอย่างอินเดีย ถึงแม้จะมีการแบ่งชนชั้นหน้าที่กัน แต่จุดมุ่งหมายเดียวกันคือการสร้างความสามัคคี ความรับผิดชอบของชนชั้นนั้นๆ เพียงเท่านี้ก็จะนำพาสังคมประเทศพัฒนาไปได้






อ้างอิง : อารยธรรมอียิปต์ - อารยธรรมสมัยโบราณ. (2018).   สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2564. จาก https://sites.google.com/site/xarythrrmsmayboran/home

ม.5/3.  ลักษณะวัฒนธรรมอียิปต์โบราณ.  (2011).  สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มการคม 2564. จาก https://netwonpro.wordpress.com/อารยธรรมอียิปต์โบราณ/ลักษณะอารยธรรมอียิปต์โ/ 

Social8002.  บทที่ 4 การแบ่งชนชั้นในสังคมและระบบการปกครอง.  สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2564. จาก https://sites.google.com/site/social8002/bth-thi-4-kar-baeng-chnchan-ni-sangkhm-laea-rabb-kar-pkkhrxng

วีรพล รามางกูร.  (2559).  แบ่งชนชั้นโดยการศึกษา โดย วีรพล รามางกูร.  สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2564. จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_277581

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สงครามครูเสด (Crusades) ในสมัยอารยธรรมสมัยกลาง

The world civilization

สงครามเย็นในอารยธรรมปัจจุบัน